วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563

Covid- 19


Covid-19

1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเชื้อไวรัส

1.1เชื้อไวรัสโคโรนา คืออะไร ไวรัสโคโรนา เป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่สามารถก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจในคน ซึ่งไวรัสที่อยู่ในกลุ่มนี้ มีหลายสายพันธุ์ส่วนใหญ่ทำให้เกิดอาการไม่รุนแรง คือ เป็นไข้หวัดธรรมดา ในขณะที่บางสายพันธุ์อาจก่อให้เกิด อาการรุนแรงเป็นปอดอักเสบได้ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจตะวันออกกลาง

(เมอร์ส) หรือ โรคซาร์ (SARS) ซึ่งเคยมีการระบาดในอดีตที่ผ่านมา

1.2ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 คืออะไร ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 คือ ไวรัสในกลุ่มโคโรนาที่เพิ่งมีการค้นพบใหม่ (ไม่เคยมีการพบเชื้อนี้ในคนมาก่อน) โดยพบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปลายปี 2019

2. การติดต่อและอาการ

2.1ไวรัสสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ผ่านทางการไอ จาม สัมผัส น้ำมูก น้ำลาย

2.2 อาการป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สำยพันธุ์ใหม่ 2019 จะมีอาการไข้ ร่วมกับ อาการทางเดิน หายใจ เช่น ไอจาม มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ และมีประวัติเดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ประเทศจีน หรือเมือง ที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ระบาด

3. คำแนะนำในการป้องกันตนเอง

3.1 หำกมีอาการป่วย หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล หายใจเหนื่อย ภายใน 14 วัน ไปพบแพทย์และยื่นบัตรคำแนะนำด้านสุขภาพ

3.2 การล้างมือ - Normal hand washing (การล้างมือทั่วไป) การล้างมือเพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ เหงื่อ ไขมัน ที่ออกมาตามธรรมชาติ และลดจำนวนเชื้อโรคที่อาศัยอยู่การล้างมืออย่างถูกวิธีต้องล้างด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว- กำรล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล

3.3 การสวมใส่หน้ากากอนามัย

3.4 การไอ จาม ที่ถูกวิธี

- เมื่อรู้สึกว่าจะไอ จาม ควรหากระดาษชำระ หรือทิชชู่ มาปิดปาก

- หลังจากไอ จามเสร็จแล้ว ควรรีบล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เพื่อกำจัดเชื้อโรค ไม่ให้แพร่กระจาย

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

วิทยาการข้อมูล(Data Science)

 1 วิทยาการข้อมูล หรือ Data Science คือ?

วิทยาการข้อมูล หรือ Data Science คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการ จัดเก็บ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง (Actionable knowledge) อย่างเช่น การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการดำเนินงาน ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนการตลาด และทิศทางขององค์กรในอนาคต

โดยหลักการแล้ว Data Science ประกอบขึ้นจากศาสตร์หลักๆ คือ Hacking Skill (สกิลเกี่ยวกับ Computer Programimg, Data Base, Big data Technologies) Statistic & Math (ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์) Substantive Expertise (หรือ Domain Knowledge) Presentation (ทักษะการนำเสนอข้อมูล) และ Visualization

Data Science ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ แต่มันคือการนำความรู้เดิมที่มีอยู่มารวมและประยุกต์เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นของใหม่ ด้วยลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในโลกปัจจุบัน การเข้ามาของ Internet of Things หรือ Censor ต่างๆ ตลอดจน Social media ทำให้เกิดเป็นข้อมูลปริมาณมหาศาล และนำมาสู่ Data Science นั่นเอง


2 ผลลัพธ์ที่ได้จาก Data Science
- ค้นพบสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนจากข้อมูลที่ได้
- ได้ Predictive Model เพื่อนำไปปฏิบัติจริง
- สร้าง Data Product ใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
- ช่วยให้ฝ่ายธุรกิจมีความมั่นใจและสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น

คนทำงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล จะนำข้อมูลที่กระจัดกระจายจากแหล่งต่างๆ มาจัดการและวิเคราะห์ เพื่อใช้ประโยชน์ตามโจทย์หรือวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น สร้าง Predictive Model หรือระบบอัลกอริทึมขึ้นมาประมวลผล เพื่อค้นหาอินไซต์เกี่ยวกับผู้ใช้งาน (user) หรือเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจขององค์กรบริษัท เป็นต้น และนี่คือผลลัพธ์ที่จะได้จาก Data Science


3 ที่มาของตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
ตำแหน่งงาน Data Scientist ถูกตั้งขึ้นโดย DJ Patil และ Jeff Hammerbacher ในปี 2008 โดยทั้งคู่เป็น ผู้บุกเบิกการสร้างทีม Data Science ที่ LinkedIn และ Facebook และตอนนี้ DJ Patil ได้รับแต่งตั้งให้เป็น Chief Data Scientist of the United States ไปเรียบร้อย

ในปี 2012 วารสาร Harward Business Review ตีพิมพ์บทความชื่อ Data Scientist: The Sexiest Job of the 21st Century ทำให้อาชีพนี้กลายเป็น Talk of the town ในวงการธุรกิจและวงการสื่อตั้งแต่นั้นมา และทำให้เกิดความต้องการจ้างงานจากวงการธุรกิจสูง จนขาดแคลนบุคคลากรทางด้านนี้เป็นอย่างมาก ถือเป็นอาชีพที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในวงการธุรกิจ โดยที่ยังไม่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยจริงจัง


4 ทักษะที่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
1 ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
2 ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Math&Statistics)
3 ความรู้เฉพาะสาขา (Domain Knowledge)
4 ความอยากรู้อยากเห็นและความคิดสร้างสรรค์ (Curiosity & Creativity)


                                 

ยุค 5G/6G , lot , Al

 
โลกยุค IoT-5G
ไอทีเวิลด์เรื่อง | ซาการ์ ทามัง หัวหน้ากลุ่มเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีเอฟเค เอเชียนรินรัตน์ พรหมพิทักษ์

หลายปีมานี้เราได้ยินเรื่อง Internet of Things (IoT) จนถึงตอนนี้ แทบจะเรียกว่าหลายอย่างกำลังจะเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง การใช้โดรนบินส่งของถึงบ้าน ทีวีอัจฉริยะ ผู้ช่วยส่วนบุคคลที่ไม่ใช่มนุษย์แต่เป็นปัญญาประดิษฐ์ และ ตู้เย็นที่สามารถสั่งซื้อนมมาเติมได้เอง

นั่นเพราะวันนี้เครือข่ายไร้สายแบบ 5จี เกิดขึ้นจริงบนโลกแล้ว เป็นเพียงแค่เรื่องของเวลาเท่านั้น อนาคตอันใกล้นี้ IoT จะกลายเป็นสิ่งปกติในชีวิตประจำวันของคน เพราะ 5จี ต่างจากเครือข่ายไร้สายแบบ 4จี ที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้ โดยเครือข่ายไร้สาย 5จี คาดว่าจะพร้อมเปิดใช้งานในช่วงปี 2563 มีช่วงแบนด์วิดท์กว้าง ตอบสนองรวดเร็ว แถมสื่อสารลื่นไหลไม่สะดุด ซึ่งจะทำให้เครือข่าย ไร้สายนี้สามารถรับมือกับการไหลบ่าของข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์บ้านๆ ธรรมดาๆ ที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในภูมิภาคเอเชียนำ 3จี และ 4จี มาใช้งานล่าช้ากว่าฝั่งชาติตะวันตก แต่สำหรับ 5จี จากรายงาน Ericsson Mobility Report พบว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอเมริกาเหนือ น่าที่จะอยู่ในตำแหน่งผู้นำในการนำ 5จี มาใช้งาน ทำให้แนวคิดเรื่องบ้านอัจฉริยะนั้นใกล้ความเป็นจริงยิ่งขึ้น

ขณะที่บริษัทที่ปรึกษาด้านบริหารระดับโลกอย่าง A.T. Kearney รายงานว่า ธุรกิจบ้านอัจฉริยะในภูมิภาคเอเชียจะมีมูลค่าสูงถึง 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573 ตลาดที่เติบโตสูงสุด ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจดิจิทัลสูง เช่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ที่จะมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตอีกด้วย

            


ที่ผ่านมา เครือข่ายแบบ 3จี ทำให้การสตรีมวิดีโอเป็นเรื่องจริง ส่วนการมีเครือข่ายแบบ 4จี ได้ทำให้ยุคเศรษฐกิจแห่งการแบ่งปันสมบูรณ์แบบ และทุกครั้งที่มีอัพเกรดเทคโนโลยียุคใหม่ก็เกิด โอกาสใหม่ๆ ขึ้นอยู่เสมอ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในรูปแบบของ IoT สร้างปริมาณข้อมูลมหาศาล แน่นอนว่าย่อมเกิดโอกาสมากมายสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการต่อยอดธุรกิจ

ด้านการทำธุรกิจ ด้วยการเข้าถึงข้อมูลจาก IoT ช่วยให้เจ้าของแบรนด์สินค้าเข้าใจการใช้งานเทคโนโลยีของกลุ่มผู้บริโภคได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้นำเสนอสิ่งที่ใช่และเป็นในแบบที่ลูกค้าต้องการ ส่งผลถึงความสามารถในการทำกำไรสูงสุด และเพิ่มความภักดีต่อแบรนด์ เจ้าของแบรนด์จึงเหมือนมีเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจในการลดช่องว่างในตลาด และปรับปรุงประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้แก่ลูกค้าในมิติใหม่ๆ ได้อีกด้วย

ทั้งนี้ จีเอฟเค เชื่อว่า การวิเคราะห์ข้อมูลจะกลายเป็นเหมือนการทำเหมืองทองในยุคของ IoT โดยอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นจะได้รับประโยชน์สูงที่สุด เมื่อลงลึกไปในข้อมูลที่เกิดจาก IoT จะเห็นได้ว่าธุรกิจโทรคมนาคมเป็นด่านแรกที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า จึงเป็นเรื่องปกติที่ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้สร้างพันธมิตรธุรกิจ และยังสร้างโอกาสให้ธุรกิจโทรคมนาคม โดยสามารถเพิ่มรายได้จากรูปแบบของบริการ อาทิ M-2-M (Machine-to- Machine) ระบบชำระเงินออนไลน์ที่สะดวกสบาย และเครือข่ายสำหรับการใช้งาน IoT ซึ่งกลุ่มลูกค้าได้ขยายตัวออกไปในแขนงอื่น อาทิ สาธารณูปโภค ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมการผลิต บ้านและเมืองอัจฉริยะและอื่นๆ อีกมากมายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ธุรกิจค้าปลีกยังได้รับประโยชน์จากข้อมูลในการสร้างรูปแบบใหม่ทางธุรกิจ เช่น การบริการที่รองรับลูกค้าและธุรกิจได้แม่นยำยิ่งขึ้น ปัจจุบันลูกค้ารับข่าวสารจำนวนมากผ่านทางอุปกรณ์มือถือ ทั้งจากตำแหน่งที่อยู่และพฤติกรรมการซื้อของตัวเอง การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคของ IoT ทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อกับลูกค้ามากขึ้น ซึ่งหมายถึงโอกาสใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบ เช่น สามารถแก้ปัญหาเรื่องวงจรการผลิตให้หมดไป และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการจัดการสินค้าคงคลังได้ลงตัว

ในยุคที่เต็มไปด้วยข่าวสารและข้อมูล เจ้าของแบรนด์สินค้าจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงมาจากลูกค้า และตอบโจทย์ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ ต้องรู้ให้ได้ว่าลูกค้าใช้แอพของเราอย่างไรและเพื่ออะไร แถมยังต้องรู้ว่าทิศทางข้อมูลทั้งตลาดนั้นจะดำเนินไปอย่างไร และจะสร้างโอกาสจากนวัตกรรม 5จี ได้อย่างไร

ปัจจุบันมีเจ้าของแบรนด์หลายรายกำลังทำงานแบบควบคู่กันไปกับการจ้างบริษัทวิเคราะห์ทางการตลาดในการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมต่างๆ ของผู้บริโภค เพื่อสามารถระบุและใช้วางแผนในการสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่จะสร้างมูลค่าของแบรนด์กลับไปยังลูกค้านั่นเอง

การก้าวสู่โลกของ 5จี และ IoT ทำให้ต้องเจอกับปริมาณข้อมูลมหาศาลที่ถาโถมเข้ามา ซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีความสำคัญต่อแบรนด์มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ข้อมูลทั้งที่เป็นรูปแบบการใช้งาน พฤติกรรมรวมถึงความชอบและประสบการณ์ของลูกค้า ข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกจับคู่ด้วยวิธีการและรูปแบบทางเทคนิคที่ก้าวล้ำและข้อมูลทุกส่วนนั้นจะถูกวิเคราะห์ทั้งหมดเพื่อให้เจ้าของแบรนด์เกิดความเข้าใจในตัวลูกค้าอย่างถ่องแท้ชัดเจน

การนำเอาข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากระบบวิเคราะห์อัจฉริยะนั้นจะช่วยให้เจ้าของแบรนด์มีข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจพร้อมทั้งตอบแทนลูกค้าตัวจริงของธุรกิจได้ตรงใจ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า IoT เข้ามาปฏิวัติพวกเราทุกคนทั้งวิถีชีวิต การทำงานและการพักผ่อนจากการทำให้ธุรกิจนั้นเกิดประสิทธิภาพและทำธุรกิจสะดวกขึ้น ถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจต่างๆ จะนำเอา IoT มาสร้างให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ หรือเสี่ยงที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
แล้ว 5G ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างไร?

แน่นอนว่าถ้ามี 5G จะทำให้เราดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ เปิดเว็บไซต์บนมือถือได้เร็ว ไม่มีสะดุด แม้แต่วีดีโอที่มีความละเอียดสูงๆ แต่ประโยชน์ของ 5G มันไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้นน่ะสิ เพราะว่าในอนาคต ถ้ามี IoT เราจะได้เห็นการทำงานของสมาร์ทดีไวซ์ที่มากกว่าแค่สมาร์ทโฟน สมาร์ทดีไวซ์ที่เชื่อมต่อกันผ่าน 5G ก็จะส่งข้อมูลหากันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

6G

พบว่า การพัฒนาพัฒนาการสื่อสารในยุคนั้นจะเป็นการสื่อสารที่แก้ไขข้อบกพร่องของเทคโนโลยี 5G ในเรื่องทางกายภาพของคลื่น และแก้ไขปัญหาทางด้านเทคโนโลยี AI เมื่อระบบ AI ทำงานผ่านระบบแอปพลิเคชันไปได้สักพัก เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น การเรียนรู้ขับยานพาหนะ, การเรียนรู้การเกษตร ซึ่งจะเริ่มที่จะเกิดการตัดสินใจเกิดขึ้น ระบบจะมีการสั่งการด้วยการเรียงลำดับความเป็นไปเพื่อการตัดสินใจของข้อมูล ซึ่งจะต้องรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางระบบจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากก็ยิ่งต้องรับส่งสัญญาณทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเช่นกัน เช่น หากต้องให้ AI ขับรถยนต์อิสระด้วยระยะทางประจำก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าต้องขับรถนอกเส้นทาง ระบบจะต้องมีการประมวลผลบนแผนที่ที่กว้างขึ้น กระบวนการทางความคิดและการตัดสินใจย่อมใหญ่ขึ้น นั้นเท่ากับว่าต้องรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่ง 5G เป็นเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่จะมารับรองสถานการณ์นี้ โดยที่ในอนาคตจะเกิดการรบกวนของสัญญาณ และเกิดการใช้แบนด์วิดท์(ช่องสัญญาณในการรับส่งสัญญาณ) มากกว่าเดิม ซึ่งเมื่อถึงยุคนั้นระบบ 5G จะเกิดขีดความสามารถอย่างแน่นอน

                                                 

Big Data


Big Data คืออะไร

Big Data คือ ข้อมูลขนาดใหญ่/ปริมาณมาก หรือ ข้อมูลจำนวนมากมหาศาล ทุกเรื่อง ทุกแง่มุม ทุกรูปแบบ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) เช่น ข้อมูลที่เก็บอยู่ในตารางข้อมูลต่างๆ หรืออาจเป็นข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Data) เช่น ล็อกไฟล์ (Log files) หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น ข้อมูลการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ผ่านสังคมเครือข่าย (Social Network) เช่น Facebook, twitter หรือ ไฟล์จำพวกมีเดีย เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลภายในองค์กรและภายนอกที่มาจากการติดต่อระหว่างองค์กร หรือจากทุกช่องทางการติดต่อกับลูกค้า แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นเพียงข้อมูลดิบที่รอการนำมาประมวลและวิเคราะห์เพื่อนำผลที่ได้มาสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่อาจมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรบางอย่างแฝงอยู่

Big Data มีคุณลักษณะสำคัญอยู่ 4 อย่าง คือ
ปริมาตร (Volume) หมายถึง ข้อมูลนั้นมันต้องมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งไม่สามารถประมวลผลปริมาณของข้อมูลด้วยระบบฐานข้อมูลได้ จำเป็นต้องใช้คลังข้อมูล (Data Warehouse) และซอฟต์แวร์ฮาดูป (Hadoop) ทำงานประสานกันในการบริหารจัดการข้อมูล
ความเร็ว (Velocity) หมายถึง ข้อมูลดังกล่าวต้องมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายโทรศัพท์ที่ถูกอับโหลดขึ้น ข้อมูลการพิมพ์สนทนา ข้อมูลวิดีโอ รวมไปถึงข้อมูลการสั่งซื้อสิ้นค้า พูดง่าย ๆ คือ ข้อมูลที่มีการเพิ่มขึ้นตลอดเวลาแบบไม่มีหยุดยั้งนั่นแหละ
ความหลากหลาย (Variety) หมายถึง รูปแบบข้อมูลต้องมีความหลากหลาย อาจจะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และกึ่งมีโครงสร้าง ซึ่งผมไม่ขอลงลึกนะเพราะมันซับซ้อนมาก แต่เอาเป็นว่ารูปแบบข้อมูลของ Big Data มันมีทุกอย่าง ไม่ได้จำกัดแค่พวกข้อความ อีเมล์ รูปภาพ ฯลฯ เท่านั้น
Veracity ไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ เพื่อการประกอบการพิจารณาได้ การใช้ประโยชน์จาก Big Data
1.ทำให้เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า ถ้ารู้จักว่าลูกค้าคิด ตัดสินใจ หรือใช้ชีวิตอย่างไร มีพฤติกรรมในการบริโภคเช่นไร
2.ช่วยให้วิเคราะห์แนวโน้มของธุรกิจได้แม่นยำ
3.ช่วยให้มีโอกาสป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ให้ลุกลามใหญ่โต
4.ช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ